งานเทศกาลนี้จัดขึ้นในทุก ๆ เดือน ตามรอบปฏิทินจันทรคติ เป็นเทศกาลที่มีผู้คนหลากหลายวัยจำนวนมากเข้าร่วม ณ บริเวณหาดริ้นของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในคืนพระจันทร์เต็มดวง คนที่ชื่นชอบเสียงดนตรีแนวอิเลคโทรก็จะมารวมตัวกันบริเวณชายหาดริ้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชื่อเสียงว่าเป็นสถานที่ที่สามารถชมพระจันทร์เต็มดวงยามค่ำคืนได้สวยที่สุด นักท่องเที่ยวยามราตรีหลายหมื่นคน (ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวอาจมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 150,000 คน) ได้ดื่มและเต้นไปตามจังหวะดนตรีอย่างสนุกสนานจนถึงรุ่งเช้า โดยมีดีเจที่มีชื่อเสืยงมาร่วมสร้างความสนุก ในปี พ.ศ. 2563 งานฟูลมูนปาร์ตี้จะจัดขึ้นในวันที่ 9 มกราคม, 9 กุมภาพันธ์, 8 มีนาคม, 7 เมษายน, 7 พฤษภาคม, 5 มิถุนายน, 7 กรกฎาคม, 4 สิงหาคม, 2 กันยายน, 3 และ 31 ตุลาคม, 30 พฤศจิกายน และ 29 ธันวาคม
วันครู หรือ วันไหว้ครู เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 เป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ ซึ่งณ เวลานั้นการจัดงานวันครูเกิดขึ้นในโรงเรียนบางแห่งเท่านั้น ในเวลาต่อมาจึงได้จัดงานวันครูอย่างเป็นนทางการในทุก ๆ โรงเรียน เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณครู ตอบแทนความดีที่คุณครูได้กระทำมา เช่น การได้เข้าชมภาพยนตร์ฟรีที่โรงภาพยนตร์ หรือการได้รับของขวัญในร้านค้าบางแห่ง อย่างไรก็ตาม วันครูไม่ถือว่าเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และไม่ใช่วันหยุดราชการในประเทศไทย
งานเทศกาลร่วมบ่อสร้าง จัดขึ้นในทุก ๆ วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม ในหมู่บ้านหัตถกรรมเล็ก ๆ ของอำเภอบ่อสร้าง (ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางเหนือ ประมาณ 10 กิโลเมตร) ซึ่งช่างฝึมือจะมานำเสนอและขายร่มลวดลายต่าง ๆ มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ร่วมถึง การประกวดธิดาร่มบ่อสร้าง
งานพฤษชาติ หรืองานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ถือเป็นงานใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นในช่วงเวลาที่ดอกไม้และพันธุ้ไม้เขตร้อนหลายสายพันธุ์บานสะพรั่ง สร้างสีสันที่สวยงาม ภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีดอกไม้หลากหลายชนิด มีการจัดแสดงขบวนรถแห่บุปผชาติ การแสดงแสงสีเสียง การแสดงนาฎศิล์และศิลปวัฒนธรรมล้าน นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ การจัดหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน การประกวดนางงามบุปผชาติ การแสดงดนตรีในสวย เป็นต้น
วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระภิกษุ 1,250 รูปที่มารวมตัวกันโดยมิได้นัดหมาย และเป็นพระอรหันต์ภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงอุปสมบทให้ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนได้แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า ในแต่ละปี วันนี้จะดึงดูดให้ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจำนวนมากเข้าวัดทำบุญ และเข้าร่วมกิจกรรมเวียนเทียบรอบพระอุโบสถ
ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธทยา ได้จัดงานกาชาดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเมืองมรดกโลกจากยูเนสโก ภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งกิจกรรมทางศาสนา เช่น การแสดงทักษิณานุภาพันธ์ การแสดงแสงสีเสียง การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นเมือง การแสดงดนตรี การประกวดร้องเพลง การประกวดความงาม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสลิ้มรสอหารท้องถิ่นที่หลากหลายด้วย
งานไหว้ครูมวยไทยโลก ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของผู้ที่รักศิลปะการต่อสู้มวยไทย ซึ่งการไหว้ครูมวยไทย เป็นพิธีที่นักมวยได้รำถึงถึงอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของศิลปะแขนงนี้ งานนี้ยังเปิดโอกาสให้นักมวยได้เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทยครั้งใหญ่ที่นักมวยไทยจากทั่วโลกสามารถเข้าร่วมได้ นอกจากนี้ ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมนิทรรศการศิลปะการต่อสู้ การสาธิตการต่อยมวย และงานฝีมือ (การสักลายไทย การทำดาบอรัญญิก อาหารไทย เป็นต้น) และแน่นอนว่า สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะมวยไทย
วันตรุษจีนเป็นกากรเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนในประเทศไทย ชาวไทยที่มีเชื้อสายจีนจะเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อฉลองเทศกาลนี้กับครอบครัวของตนเอง ร้านค้าต่าง ๆ ในย่านชุมชนชาวจีนจะปิดทำการเป็นเวลา 4 วัน สภาพการจราจรและการจองโรงแรมต่าง ๆ จะหนาแน่น ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครสวรรค์ (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร) จะมีปิดทางจราจรในย่านไชน่าทาวน์เพื่อจัดงานเฉลิมฉลอง มีการจัดคอนเสิร์ต และเปิดให้ทุกคนได้เข้าร่วมงาน
เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2550 วันปิดไฟโลก เป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ รณรงค์ให้ปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 20:30-21:30 น. เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาตระหนักถึงปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น ริเริ่มโครงการโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล((World Wildlife Fund WWF) โดยมีหลายเมืองใหญ่ทั่วโลกได้เข้าร่วมโครงการนี้ เช่น การปิดไฟบริเวณท่าเรือของเมืองซิดนีย์ การปิดไฟในพื้นที่ปิรามิดของประเทศอียิปต์ การปิดไฟหอไอเฟลในกรุงปารีส หรือการปิดไฟบริเวณจตุรัสไทม์สแควในกรุงนิวยอร์ค เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2554 เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ นายบัน คี มูน ได้รู้สึกยินดีที่มีการจัดงาน "วันปิดไฟเพื่อโลก" โดยใช้ความมือ 60 นาที เพื่อช่วยให้โลกมองเห็นแสงสว่าง ซึ่งมีมากกว่าห้าร้อยเมืองทั่วโลกที่เข้าร่วมโครางการนี้
วันอนุรักษ์มรดกไทย ได้รับการเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระธิดาพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งพระราชสมภพในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ซึ่งในโอกาสนี้มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมมากมาย เช่น การสัมมนาทางวิชาการ นิทรรศการ การแสดงคอนเสิร์ต การเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และอุทธยานประวัติศาสตร์
ในทุก ๆ ปี ในวันที่ 6 เมษายน คนไทยจะรำลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน หลังจากมีการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นในปี พ.ศ. 2325 หลังจากได้รับชัยชนะในกู้เอกราชจากพม่า และได้สถานปนากรุงเทพมหานครฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีจะมีพระนามว่า "พระรามา" พระมหากษัรติย์องค์ปัจจุบัน คือ พระรามาที่ 10
วันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นหนึ่งในวันหยุดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย "สงกรานต์" เป็นคำที่มาจากภาษาสันตกฤต หมายถึง "ทาง" และหมายถึง "การมาถึงของดวงอาทิตย์ในราศีเมษ" ซึ่งเป็นสัญญาณโหราศาสตร์แรกของราศี โดยวันที่ 12 เมษายน เป็นหนึ่งในวันที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย ในโอกาสนี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมาก จะเดินทางไปทำบุญที่วัดและรับพรจากพระก่อนเดินทางกลับบ้านเพื่อใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและญาติพี่น้อง เพื่อแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้อาวุโสของครอบครัว มีการจัดรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ โดยการเตรียสน้ำสะอาดลอยด้วยกลีบกุหลาบหรือดอกมะลิ ใส่น้ำปรุง แล้วนำน้ำนั้นไปล้างมือญาติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสที่เคารพ โดยมีความเชื่อว่าน้ำจะช่วยกำจัดความโชคร้าย การสาดน้ำ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของเทศกาลนี้ เมื่อเวลาผ่านไปเทศกาลสงกรานต์ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติจำนวนมาก ที่ประสงค์จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ เทศกาลนี้มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเทศกาลนี้ถือเป็นช่วงเทศกาลพิเศษที่สมาชิกทุกคนได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ได้เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ได้สืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ๋ และได้สนุกสนานกับการเล่นสาดน้ำ ประเพณีสะท้อนให้เห็นความคิดของคนไทยได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ เคารพประเพณี แต่พร้อมที่จะสนุก พื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัดเบญจมบพิตร (วันหินอ่อน) วันสุทัศน์(ใกล้เสาชิงช้า) วัดราชบพิตร (ติดกับพระบรมมหาราชวัง) สำหรับการเล่นสาดน้ำ จะจัดในพื้นที่ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ ถนนสีลม และบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ในพื้นที่อำเภอพระประแดง ชุมชนชาวมอญ ซึ่งจะมีการจัดขบวนแห่ที่มีสีสัน มีการประกวดความงามสำหรับทั้งเพศชาย เพศหญิงและเพศทางเลือก นอกจากนี้ ยังมีการแสดงกลางแจ้งอีกมากมาย จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ พื้นที่รอบกำแพงเมืองและคูเมืองเก่า ผู้คนนิยมเล่นน้ำบนกระบะของรถปิคอัพ โดยมีการสาดน้ำใส่ผู้คนที่สัญจรไปมา นอกจากนี้วัดวาอารามยังมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามด้วยธงจักรราศี มีกิจกรรมขนทรายเข้าวัด และยังมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟหลากสี เช่น วัดพระสิงค์ วัดพันเตา วัดเชียงมั่น และวัดสวนดอก จังหวัดลำปาง ซึ่งขับรถจากเชียงใหม่ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หรือเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง จังหวัดลำปางมีการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้อย่างสวยงาม ตามแบบฉบับบวัฒนธรรมล้านนาดั้งเดิม จัวหวัดเลย มีพื้นที่อำเภอนาหาว ได้มีการจัดเทศกาลสงกรานต์ที่สวยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้กิจกรรม "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" ซึ่งจะมีประชาชนจากประเทศลาวเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น
เทศกาลปล่อยเต่า เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดภูเก็ต โดยในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ลูกเต่าจำนวนมากจะถูกปล่อยลงสู่ท้องทะเลบริเวณชายหาดของจังหวัดภูเก็ต โดยภาครัฐได้สนับสนุนใน การจัดกิจกรรมนี้ เพื่อปลุกจิตสำนึกถึงความสำคัญของการปกป้องเต่า ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ตรงกับวันที่ 21 เมษายนของทุกปี โดยกรุงเทพมหานครจะจัดให้มีการเฉลิมฉลงการาสถาปนากรุงเทพมหานคาเป็นเมืองหลวงบริเวณ "ศาลหลักเมือง" ซึ่งใกล้กับพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 8:09 น.
วันฉัตรมงคล เป็นวันพระราชพิธีเฉลิมฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ื 9 ซึ่งพระองคืท่านได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2593 เป็นวันหยุดราชการของไทย
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูตร ตรัสรู้ และเสด็จปรินิพพาน ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนา และในช่วงเย็นจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ในกรุงเทพมหานคร จะมีการจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานนิทรรศการที่สวยที่สุดในประเทศไทย
"พิธีแรกนาขวัญ" เป็นพิธีที่เริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว ซึ่งการประกอบพิธีแรกนาขวัญนี้ เพื่อให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ ฤดูกาลแห่งการทำนา ทำไร่ และเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีการที่มีรูปแบบพิธีที่เข้มงวด พิถีพิถันเป็นอย่างมาก หนึ่งวันก่อนวันพิธีแรกนาขวัญ จะมีการจัดทำพิธีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในบริเวณพระบรมหาราชวัง ตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่ พระภิกษุสงฆ์ และพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งหัวหน้าพิธี พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย โดยเมล็ดข้าวที่นำมาใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว อีกทั้งยังมีเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ รวมกว่า 40 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะถูกบรรจุอยู่ในถุงผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่ใช้สำหรับหว่านในพิธีแรกนาขวัญบรรจุอยู่ในหาบทองและหาบเงิน เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่โปรดพระราชทานให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานให้นำมาใช้ในพระราชพิธีพืชมงคล ในวันพิธี ซึ่งจะจัดขึ้นบริเวณพื้นที่สนามหลวง พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ซึ่งได้แก่ ข้าวสาร ถั่ว เมล็ดข้าวโพด งา หญ้า น้ำ และเหล้า ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคบริโภคสิ่งใด พราหมณ์จะพยากรณ์เหตุการณ์ หรือทำนายทายทักเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในหนึ่งปี เช่น โรคระบาด น้ำท่วม ผลผลิตดี และมีผลตกหนักหรือน้อย เป็นต้น เมื่อพระราชพิธีเสร็จสิ้นแล้ว พระยาแรกนาจะทำการหว่านเมล็ดข้าว ประชาชนที่เข้าร่วมพิธีจะมาแย่งเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเหล่านั้น เพราะถือกันว่าเมล็ดข้าวเหล่านี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และก่อให้เกิดความเป็น สิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ครอบครอง เมื่อเก็บเมล้ดข้าวกลับไปแล้ว ชาวนาจะใช้เมล็ดข้าวที่เก็บได้มาผสมกับเมล็ดข้าวของตัวเองเพื่อให้พืชที่ลงแรงลงกายปลูในปีที่จะมาถึงนี้มีความอุดมสมบูรณ์ สำหรับวันพืชมงคลนั้นจะมีการกำหนดขึ้นแตกต่างกันไปในแต่ละปี พระราชพิธีนี้จะจัดขึ้นบริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
ภาครัฐได้กำหนดให้วันที่ 3 มิถุนายนเป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระราชินีในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 โดยจะมีการจัดกิจกรรมจุดเทียนชัยบริเวณท้องสนามหลวงของเย็นวันที่ 3 มิถุนายน สำหรับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระพันปีหลวง สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่่ 9 ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ยังคงถือเป็นวันแม่แห่งชาติของไทย
เทศกาลผีตาโขน เป็นหนึ่งในงานเทศกาลประจำปีที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในภาคอีสาน ผู้คนในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จะพร้อมใจกันแต่งกายเป็นผีตาโขน มีขบวนแห่พระ ขบวนนางรำ และขบวนแห่ต่าง ๆ เป็นการเฉลิมฉลองงานบุญประเพณี เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอุปคุตต์ (พระพุทธรูปที่มีอำนาจในการขอฝน) นอกจากนี้ ยังมีการยิงบั้งไฟ การแสดงต่าง ๆ ที่คนหนุ่มสาวแต่งตัวเป็นผีตาโขน ซึ่งมีสีสันสวยงาม ผีตาโขน เป็นเทศกลายที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาดกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ผีเข้ามาปะปนกับมนุษย์ เพื่อเข้าร่วมในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่จัดขึ้น เพื่อต้อนรับ การกลับมาของเจ้าชายหลังจากที่ถูกเนรเทศมาเป็นเวลานั้น การกำหนดวันจัดงานเทศกาลผีตาโขนนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้มีการจัดงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งมีการแกะสลักเทียนพรรษาที่ใช้แห่เป็นรูปร่างต่าง ๆ นับเป็นงาน แห่เทียนพรรษาที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตามท้องถนนในเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยจะมีการจัดขบวนแห่เทียนพรรษา โดยเทียนเหล่านั้นมักจะมีขนาดใหญ่และถูกสลักลวดลายไว้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ชายหนุ่มอายุ 20 ปีบริบูรณ์จะเข้าพิธีอุปสมบท วันเข้าพรรษาจะแตกต่างกันในแต่ละปี โดยยึดตามปฏิทินจันทรคติ
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ และทำให้หนึ่งในพราหมณ์ที่ได้ฟังธรรมได้บรรลุเป็นพระ อริยะบุคคลระดับโสดาบัน ทำให้วันนี้เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ ในวันนี้จะมีการจัดกิจกรรมทางศาสนามากมายทั่วประเทศ
วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นวันหยุดราชการของไทย ที่เริ่มขึ้นปี พ.ศ. 2560
เป็นวันที่ภาครัฐ กำหนดให้เป็นวันภาษาไทย แต่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหยุดราชการ
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันหยุดราชาการของไทย เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระพันปีหลวง สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9 โดยจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองบริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
เทศกาลฮาล์ฟมูน หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เทศกาลไหว้พระจันทร์" เป็นเทศกาลในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงที่สว่างที่สุดของปี เป็นสัญลักษณ์ ของความสามัคคีในครอบครัว โดยชาวไทยเชื้อสายจีนและนักท่องเที่ยวจะเดินทางมารวมกันที่เยาวราชเพื่อเฉลิมฉลองงานเทศกาลนี้ นอกจากความสำคัญทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนแล้ว ในช่วงเทศกาลนี้ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้ลิ้มรส "ขนมไหว้พระจันทร์" ซึ่งมีทุกไส้ เช่น ไส้กาแฟ ไส้ลูกพรุน ไส้ทุเรียน ไส้แฮม และไส้ไอศกรีม การกำหนดวันจัดงานเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
เงานเทศกาลกินเจ หรือประเพณีถือศีลกินผัก ของจังหวัดภูเก็ตเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปี เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของภูเก็ต โดยประชาชนจะนุ่งขาว ห่มขาว ถือศีล งดบริโภคเนื้อสัตว์ ในทุก ๆ วัน ตลอดระยะช่วงเวลาของเทศกาลกินเจ มีการประกอบพิธีกรรมตต่าง ๆ ในวัดจีน มีขบวนแห่ การสาธิตการแสดงที่น่าตื่นเต้นหวาดเสียว เช่น เดินบนถ่านร้อน ๆ การเข้าของแหลมอย่างมีด ดาบ หรือเหล็กแหลม แทงเข้าตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เทศกาลเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2368 หลังจากที่คณะงิ้ว หรือ เปะหยี่หี่ ได้เดินทางมาเปิดแสดงที่บ้านในทูของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งคณะงิ้วนี้ได้จัดแสดงอยู่นานเป็นปี เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในตอนนั้นดีมาก แต่ต่อมาสมาชิกของคณะงิ้วนี้ได้เจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย(กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน จึงได้ปรึกษาหารือในหมู่คณะ และได้ตกลงกันประกอบพิธีกินผักขึ้น เทศกาลกินเจมีระยะเวลา 9 วัน ของเดือน 9 หรือ 10 ทั้งนี้การกำหนดวันจัดงานเทศกาลนี้จะแตกต่างกันในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติของชาวจีน
"งานไหลเรือไฟ" หรือ "งานลอยเรือไฟ" เป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน11 (วันออกพรรษา) โดยชาวบ้านจะช่วยกันทำเรือไฟ มีการประดับประดาอย่างสวยงามแล้วนำไปลอยในแม่น้ำ การจัดงานนี้เพื่อเฉลิมฉลองต้อนรับพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับมาสู่โลก หลังจากเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาแก่พระมารดาในสวรรค์ในช่วงสามเดือนของการเข้าพรรษา เรือไฟในสมัยโบราณนั้นมีรูปแบบที่เรียบง่าย โดยทำจากต้นกล้วยและลำไม้ไผ่ที่หาได้มาจัดทำเป็นโครงเรือไฟง่าย ๆ พอที่จะทำให้ลอยน้ำได้ การประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะประดับ ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ใต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อยเรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลนีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟลงการลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง เป็นภาพที่งดงามมาก
เทศกาลกินเจในกรุงเทพมหานคร เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มีโอกาสชำระล้างร่างกายและจิตใจให้สะอาด โดยการนุ่งขาว ถือศีล กินผัก งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในย่านเยาวราช หรือไชน่าทาวน์ของเมืองไทย โดยศาลเจ้าในพื้นที่จะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน เทศกาลกินเจนั้น ถูกจัดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยพื้นที่จัดงานถือศีลกินผักที่มีชื่อเสียง คือ ภูเก็ต เทศกาลกินเจมีระยะเวลา 9 วัน ของเดือน 9 หรือ 10 ทั้งนี้การกำหนดวันจัดงานเทศกาลนี้จะแตกต่างกันในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติของชาวจีน
วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดของช่วงเข้าพรรษา ช่วงเข้าพรรษาจะใช้ระยะเวลา 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ซึ่งพระสงฆ์อธิษฐานว่าจะจำพรรษา อยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น ซึ่งวันออกพรรษานั้น จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในโอกาสนี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทย จะไปทำบุญ สวดมนต์ ที่วัด และในช่วงค่ำจะมีพิธีเวียนเทียน โดยการถือธูปสามดอก เทียน และดอกไม้ แล้วเดินเวียนรอบพระอุโบสถตามเข็มนาฬิกา สามรอบ ในช่วงเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น เทศกาลไหลเรือไฟในจังหวัดนครพนม ลูกไฟพญานาคในจังหวัดหนองคาย ประเพณีรับบัว และพิธีตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้นของจังหวัดสมุทรปราการ และพิธีถวายข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ของจังหวัดอุทัยธานี
ในช่วงเทศกาลออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้ง ชาวสกลนครจะร่วมมือกันสร้างปราสาทที่ทำมาจากขี้ผึ้ง มีการแกะสลักลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงาม สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งในแต่ละคุ้มวัดจะมีการทำปราสาทผึ้งเพื่อส่งเข้าประกวดแข่งขัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ ด้วย เทศกาลออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้ง กำหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกจะมีการแข่งเรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่สามทำบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมคร จังหวัดสกลนคร อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีได้เสด็จสวรรคต พระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่รักของประชาชนชาวไทย ทรงเป็น"พ่อของแผ่นดิน" พระองค์ท่านทรงครองราชย์มาเป็นระยะเวลา 70 ปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน ภาครัฐจึงประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้น้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน
วันปิยมหาราช หรือวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี พระองค์ท่านทรางครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 2411-2453 พระองค์ท่านทรงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ช่วยพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและทำให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยดีขึ้น เช่น ทรงประกาศให้มีการเลิกทาส และการเปิดประเทศไทยสู่โลกตะวันตก
เทศกาลเที่ยวพิมายของจังหวัดนครราชสีมา จะจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลที่มีสีสันสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันพิมายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีแม่น้ำมูลหรือลำน้ำจักราชไหลผ่าน ในช่วงเทศกาลนี้ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งจะร่วมทำบุญกฐิน และจัดแข่งเรือเพื่อสร้างความสามัคคี จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อมา กิจกรรมในภายในงาน ได้แก่ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน เพลงโคราช การประกวดแมวโคราช การแข่งขันตำส้มตำ ผัดหมี่พิมาย การแสดงของกลุ่มนาฎศิลป์แลศิลปินเฉียงเหนือ(ชิงถ้วยพระราชทาน) ณ ลำน้ำจักราช ซึ่งไหลผ่านอำเภอพิมาย และกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวเส้นทางแหล่งโบราณคดี บ้านปราสาทพิมาย ขบวนแห่พุทธประทีปจากคุ้มวัดและสถานศึกษาต่าง ๆ ในอำเภอพิมาย และการแสดงแสงสีเสียงประกอบจินตภาดวิมายนาฎการ
เทศกาลลอยกระทงและลอยโคม เป็นเทศกาลที่มีความสวยงามและเป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย โดยวันลอยกระทง อยู่ในช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาว โดยตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ชายฝั่ง หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ การลอยกระทงจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ซึ่งเป็นตามเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู เป็นการแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ เป้นการขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำอันเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำไม่สะอาด ในวันลอยกระทง จะมีการประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวหรือเรือลำเล็ก ๆ ด้วยต้นกล้วย ใบตอง และดอกไม้ต่าง ๆ และจะปักธูปและเทียนเอาไว้ตรงกลาง บางความเชื่อจะมีการตัดเล็บและตัดปลายผมใส่ลงไปในกระทงด้วยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการลอยทุกข์ลอยโศกให้ออกไป หลังจากนั้นจะนำกระทงที่ประดิษฐ์ไปลอยลงในแม่น้ำในเวลาค่ำคืน ซึ่งแสงเทียนที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ ทำให้เกิดภาพที่สวยงาม ในบางพื้นที่จะมีการจุดโคมแล้วปล่อยขึ้นท้องฟ้าด้วย
ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีของชาวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าในคืนวันลอยกระทง ภายในงานมีการแสดง แสง สีเสียง การแข่งเรือ การละเล่นแบบดั้งเดิม และกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย ในช่วงก่อนจะถึงวันยี่เป็ง จะมีการประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่าง ๆ ตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า หรือลวดลายศิลปะโบราณของไทย ระหว่างช่วงงานเทศกาล ตัวเมืองเชียงหม่ บ้านเรือน ถนนและแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ จะมีการประดับประดาไฟหรือแขวนโคมไว้หน้าบ้าน การปล่อยโคมไฟขึ้นท้องฟ้า เปรียบเสมือนการสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย งานเทศกาลประเพณียี่เป็ง จะจัดขึ้นบริเวณประตูท่าแพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง หรือบริเวณตัวอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่
ในช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน จังหวัดสุรินทร์ได้มีการเปิดสอนเทคนิคการฝึกช้าง การเดินขบวนแห่ช้าง การคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว และยังมีการแสดงอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะมีงานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ซึ่งเป็นการจัดโต๊ะจีนเลี้ยงอาหารช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความยาวกว่า 400 เมตร โดยมีช้างเข้าร่วมกว่า 250 เชือก นอกจากนี้ ยังมีงานแสดงช้าง ณ สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 9 ฉาก หรือ 9 องก์ ช้าง เป็นสัตว์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน เคยปรากฎอยู่บนธงประจำชาติด้วย และยังเป็นจุดเด่นในตำนาน วรรณกรรม ศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด ที่มีฝูงลิงจำนวนมากอาศัยอยู่ จะมีการจัด "โต๊ะจีนลิง" เนื่องจากลิงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นลูกหลานของหนุมานตามวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ลิงในจังหวัดลพบุรีจะอาศัยอย่างอิสระอยู่บริเวณศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด ลิงจะใช้ชีวิตอยู่ตามหลังคาวัด ต้นไม้ สายไฟ ยอดเจดีย์ หรือสามารถข้ามถนนได้อย่างอิสระ บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมเป็นจำนวนมาก โดยอาหารที่นำมาเลี้ยงโต๊ะจีนให้แก่ลิง ได้แก่ ดอกไม้ ถั่วลิสง กล้วย สับปะรด โซดา และอาหารพิเศษอื่น ๆ ซึ่งเหล่าบรรดาลิงตัวเล็ก ตัวนอ้ย ในจังหวัดลพบุรีจะมารวมตัวกัน เพื่อดื่มด่ำและอิ่มหนำสำราญกับบรรดาอาหารนานาชนิด โดยพื้นที่จัดงานโต๊ะจีนลิง ได้แก่ บริเวณวัดปรางค์แขก พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด และบริเวณวัดพระศรีมหาธาตุ การกำหนดวันจัดงานโต๊ะจีนลิงนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
เทศกาลไหมนานาชาติ เป็นงานแสดงสินค้าแบบดั้งเดิม เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น ขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ซึ่งประดับตกแต่งขบวน โดยเจ้นถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น การจัดพิธีผูกเสี่ยวและคุ้มศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการจัดประกวดนางามไหมขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมไทยที่สำคัญของประเทศไทย
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันชาติไทยและวันพ่อแห่งชาติ เป็นวันหยุดราชการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2559 แต่ปัจจุบันชาวไทยจะให้ความเคารพรักพระองค์ท่าน ปรากฎรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของท่านอยู่ทั่วทุกบ้านและทุกพื้นที่ของประเทศ ในวันนี้จะมีการประดับประดาบ้านเรือน ถนน และอาคารสาธารณะต่าง ๆ อย่างสวยงาม มีไฟประดับประดาตามเมืองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครจะมีการประดับประดาไฟบริเวณพระราชวังจิตรลดา อาคารรัฐสภา และพระบรมมหาราชวัง มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ภาพยนต์ การเต้นรำ การแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 และเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 พระองค์ท่านเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย เป็น "พ่อของแผ่นดิน" ดังนั้น ภาครัฐจึงได้ประกาศให้ วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันพ่อแห่งชาติ
วันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันหยุดราชการ ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม และวันที่ 1 มกราคม ในกรุงเทพมหานคร ประชาชนจะเดินทางไปรวมตัวกับบริเวรท้องสนามหลวง ย่านราชประสงค์ เพื่อเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ โรงแรมต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ห้องพักจะถูกจองเต็มทั้งหมด การเดินทางภายในประเทศในช่วงนี้ควรจองตั๋วล่วงหน้า
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม เป้นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบประชาธิปไตย
© 2020 โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ณ นครเจนีวา | สงวนลิขสิทธิ์| Design by W3layouts